การฝึกตนด้วยจิตในชีวิตประจำวัน

ความเป็นมงคลของชีวิต..
       คือการได้เรียนรู้และอยู่กับ.."สัจธรรม"...

สิ่งลวงล่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจทั้งสิ้น..
   ล้วนทำให้เกิดกุศลกรรมและอกุศลกรรม..
เป็นการนำตัวเองไปสู่สวรรค์หรืออบายภูมิ..
     ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับ.."กรรม"..หรือการกระทำของตนเอง..
เจ้านายใหญ่แห่งอกุศลกรรม ได้แก่..
       "ความโลภ ความโกรธ และความหลง"..
พระยา 3 สิ่งนี้ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมาก..
   หากใครใดเล่า.."ไม่สามารถระงับความรู้สึกนึกคิดแห่งจิตนี้ได้"...
ขอบคุณภาพจากเครือข่ายออนไลน์
ย่อมตกไปสู่อบายภูมิ..หรือสิ่งที่นำไปสู่.."ความทุกข์"...
   แต่หากใครใคร่หลุดพ้นอำนาจแห่ง.."อกุศล".. เหล่านี้..
ต้องพึงฝึกฝน.."จิต"...ให้รู้จักการพิจารณาและการนึกคิด..
    เพื่อนำไปสู่.."การทำบุญ".. ทดแทน หรือการ.."หว่านบุญ"..
แค่การเจียดเวลา เจียดแรงกาย เจียดแรงใจ ความคิด..
   เพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และแม้แต่ความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์..
ก็คือการสร้างบุญ..."การทำบุญ"..
    การเสียสละทำงานที่ผู้อื่นไม่อยากทำเพียงเล็กน้อย เช่น การยกน้ำสำหรับต้อนรับแขก..
การชงชา กาแฟ การใช้แรงงานจากตัวเองเพียงเล็กน้อย เพื่อให้กิจการผู้อื่นสัมฤทธิ์..
    กระทั่งการใช้ความคิดเห็น การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ เล็กๆน้อยๆ..
หรือแม้แต่สิ่งที่ง่ายที่สุดแต่มีพลังมากที่สุด..ก็คือ.."การให้กำลังใจ"..
   ขั้นสูงที่ต้องใช้สติมากขึ้น...ได้แก่ การฝึกคิดและการปล่อยวาง การเฝ้าระวัง
และสำรวม.."จิตใจของตนเอง"..
     การฝึกจิตของตนเองในเบื้องต้น ด้วยการใช้เครื่องมือดูแล..
นั่นก็คือ.."ศีล"... การสำรวจกายและใจ.."ไม่ให้ประมาท"..
    เมื่อยังความไม่ประมาทแล้วไซร้..
จิตใจ..ก็จะไม่วุ่นวาย ไม่สับสน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ท้อแท้ ไม่กดดัน..
         ไม่อยู่ภายใต้อำนาจแห่ง "อกุศลกรรม"..
   ไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลง...นั่นเอง..
นัยแห่งการคิดของคำว่า "อกุศลกรรม"..
      ไม่ใช่การส่งเสริมให้คน.."ขี้เกียจ"..
ไม่กระฉับกระเฉง ไม่ทำงาน ไม่สู้งาน ไม่สู้คน...
    แต่หมายถึง.. "การขยันอย่างมีนัยสำคัญ"...
กล่าวคือ.."ความขยันให้ถูกต้องตามหลักธรรม"..
      โดยการมุ่งเน้นการชำระจิตใจที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ในการทำงานในทุกขณะเวลา..
ไม่วอกแวก ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ให้ร้ายผู้อื่น ไม่เอาเปรียบ ไม่นินทา ไม่เกียจคร้าน...
    การเอาชนะ..."ใจตนเอง"... โดยการใช้หลักธรรมมาช่วยขจัดปัญหาต่างๆ..
เพียงแค่คอยบังคับและรักษาจิตใจ...
         "ไม่ให้ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง"...
เมื่อทำงานก็ทำเพื่องาน เพื่อสิ่งตอบแทนตามสมควรแก่งาน สมควรแก่ตำแหน่ง..
    ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่ระรานใคร ไม่รังเกียจเดียจฉันท์เพื่อนร่วมงาน...
ด้วยอารมณ์ที่เป็นมูลเหตุแห่งอกุศลทั้งปวง...
การยินดีเมื่องานสัมฤทธิ์ผล การยินดีเมื่อทีมงานได้ดี การยินดีเมื่อเพื่อนพ้องได้ดี..
    การเอาใจใส่ต่องานที่รับผิดชอบ หรืองานที่พึงมีส่วนร่วม...
"คิดดี ทำดี สร้างสิ่งต่างๆ แม้แต่สิ่งที่นอกเหนือจากงาน ภาระหน้าที่รับผิดชอบ"..
    ประกอบแต่ในทางสร้างสรรค์และคิดบวก.."ย่อมนำความสุขแท้มาให้"..
"ได้คน ได้ใจ ได้งาน ได้เงิน ได้ครอบครัว ได้การยอมรับ ได้สังคม และได้บุญ"..