บทความ สังคม ประชาคมอาเซียน


ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คืออะไร
      คำว่าประชาคมอาเซียน ฟังดูแล้วคุ้นหูกันมาก แต่คนใหญ่กลับคุ้นตามกับคำว่า AEC จนหลังประเด็นไปว่า “ประชาคมอาเซียน” ต้องมีเฉพาะ AEC หรือแค่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้น.. แท้จริงแล้วใช่หรือไม่..???
        การรวมตัวของ 10 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ในนาม ประชาคมอาเซียนจากแบบแผนที่อ้างอิงจากการแอบมองยุโรป หรือ อียู (EU) มานานพอสมควร จนมากำหนดใช้พิมพ์เขียวที่เรียกว่า “Blueprint ASEAN Community” อันประกอบไปด้วยหลักการ 3 เสาหลัก อันเป็นรากฐานสำคัญในการกำเนิดกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)  ซึ่งประกอบไปด้วย
       1. เสาหลักด้านความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community หรือ APSC) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้านของภูมิภาคนี้
       2. เสาหลักด้านเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกได้
       3. เสาหลักด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชากรในอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีความมั่นคงทางสังคมแบบเอื้ออาทรระหว่างกัน
       ดังนั้น คำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน "AEC" จึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ ประชาคมอาเซียน เท่านั้น..!!! 
       การนำเอา 3 หลักการสำคัญ ในการรวมตัวระหว่างกันของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้นี้ “ประเทศไทย” จะต้องได้พบเจอกับการเปลี่ยนแปลงในอีกไม่ช้านี้แล้ว หากคนไทยยังไม่รู้จักการเตรียมตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เชื่อเหลือเกินว่าหลังปี 2558 จะมีคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่จะประสบปัญหาด้านต่างๆ อย่างน้อยก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มปรับตัวยังไง หรือไม่ก็ไม่รู้จะประกอบอาชีพอะไร จะส่งบุตรหลานให้เรียนสายอาชีพไหน ฯลฯ "จะเป็นแค่เบี้ยล่าง หรืออยากจะเป็นคนระดับกลางบนในสังคมขึ้นไป..?.." 
       ในการนี้ขอนำเสนอให้ทุกคนรับรู้ว่า "การฝึกเรียนภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานจะสามารถทำให้ท่านทั้งหลายอยู่ในสังคมได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ค่านิยมในแต่ละสังคมประเทศ" ย่อมจะทำให้เราอยู่ในสังคมใหม่นั้นได้ง่ายขึ้น...
         เพื่อการเตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้เหมาะกับเราที่สุด "เราวางตัวเหมาะสมกับสังคม และสังคมยอมรับเราได้อย่างราบรื่น" อย่างน้อยก็ต้องช่วยเหลือตัวเองและครอบครัวให้รอดพ้นจากความยากจน และไม่อยู่ในสังคมแห่งการเหลื่อมล้ำ เพื่อที่จะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาความแปลกแยกในสังคมเชิงลึกต่างๆ และยากต่อการดำรงอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นเอง...!!!